จากข้อมูลข่าวที่ออกมาจะเห็นได้ว่าราคาลำใย แค่ค่าแรงคนงานเก็บที่สูงถึงวันละ 500-700 บาท บางสวนไม่มีคนงานเพราะติดล็อกโควิด ราคาจะตกต่ำหลังจากก่อนหน้านี้ต่างประเทศประกาศงดซื้อลำไยไทย อ้างว่ามีการปนเปื้อนเพลี้ยแป้ง ทำให้ราคาลำไยตกต่ำในรอบ 30 ปีเลยทีเดียว
ราคาลำไย รูดร่วงอยู่ที่ขนาด AA กก.12 บาท, A-3 บาท และ B-2 บาท ถึงอย่างไรก็ตามชาวสวนยังพากันเก็บลำไยส่งขายโรงร่อน ซึ่งเหลือเพียงไม่กี่แห่งที่ยังรับซื้ออยู่ และยังสังเกตได้ว่ามีสวนลำไยหลายสวนเจ้าของได้ปล่อยให้ลำไยเน่าเสีย เนื่องจากเก็บขายไม่คุ้มทุน
และนอกจากนี้สภาพอากาศในระยะนี้ยังคงเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราก่อโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เตรียมรับมือการระบาดของโรคใบไหม้ หรือโรคราน้ำฝนของลำไย หรือโรคผลเน่าและใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora capsici Leonian เพราะเป็นโรคที่พบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน
อาการที่ใบ กิ่ง ยอด ใบอ่อน กิ่งอ่อน และยอดอ่อน…จะพบการไหม้สีน้ำตาลเข้ม และมักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราขึ้นปกคลุม ต่อมาส่วนที่เป็นโรคจะแห้งอย่างรวดเร็ว
ฉะนั้น ในช่วงที่มีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรหมั่นสำรวจตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นลำไยที่แสดงอาการของโรคใบไหม้ ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค เก็บเศษซากพืชที่ร่วงหล่น และกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูกทันที
สำหรับชาวสวนที่เจอปัญหาอยู่อาจจะใช้สารป้องกันโรคเช่น เมทาแลกซิล 25% ดับเบิลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิลยูพี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 68% ดับเบิลยูจี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยนำมาฉีดพ่นทุก 5-7 วัน ให้ทั่วทั้งต้น และควรหยุดพ่นสารก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยอย่างน้อย 15 วัน. ทั้งนี้ก็เว็บไซต์เกษตรอินทรีย์เอาใจช่วยชาวสวนลำใยให้ผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไป