ปกติแล้วไม่ว่าพื้นที่ใดๆที่มีดินก็ย่อมจะมีวัชพืชหรือหญ้าขึ้นได้เสมอๆ และถ้าพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์แล้วแบบในนาข้าวที่เราได้มีการใส่ปุ๋ยบำรุงดินให้ข้าวได้เจริญเติบโตด้วยแล้วนั้นย่อยต้องมีวัชพืชหรือหญ้าขึ้นแน่นอน

วัชพืชหรือหญ้าเป็นอุปสรรคสําคัญในการพัฒนาการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าวโดยวิธีใดก็ตาม จะนาดอนหรือนาดำ เนื่องจากความชื้นในดินทําให้เกิดมีวัชพืชขึ้นมากชนิดกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งวัชพืชใบแคบ สกุลหญ้าต่างๆ จะสร้างปัญหาให้มากที่สุด ส่วนวัชพืชใบกว้างและวัชพืชนํ้านั้นจะทําความเสียหายให้น้อยกว่า

และด้วยส่วนนี้การควบคุมวัชพืชควรจะเริ่มตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ส่วนวิธีการควบคุมนั้นก็สามารถทําได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวิธีการเหล่านั้นและความพร้อมของเกษตรกรเอง

ดังนั้น ในการจะเลือกใช้วิธีใดชาวเกษตรอินทรีย์ควรต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น สภาพพื้นที่ที่ปลูก ชนิดของวัชพืช ผลดี-ผลเสียของแต่ละวิธีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ และความคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในการบริหารจัดการต้นทุน

เมล็ดพันธุ์ข้าว

เริ่มจัดการวัชพืชหรือหญ้าในนาข้าวจากการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ และใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากการเจือปนของเมล็ดวัชพืช ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยชาวเกษตรอินทรีย์ในการลดวัชพืชหรือหญ้าได้ โดยสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

  1. การฝัดหรือโบก เพื่อให้สิ่งเจือปนที่เบากว่าเมล็ดข้าวแยกตัวออก
  2. การคัดแยกสิ่งเจือปนด้วยมือ
  3. การทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อนนําไปปลูกจริงในนา
  4. การแยกเมล็ดโดยการลอยตัว นำข้าวมาแช่นํ้าแล้วทิ้งไว้สักระยะ เมล็ดที่เสียจะลอยเหนือน้ำ ตักออกแล้วนําเมล็ดที่จมนํ้ามาตากให้แห้งก็สามารถนำไปเพาะปลูกได้ต่อไป

วัชพืชหรือหญ้าตั้งแต่การเตรียมดินสำหรับทำนา

  1. การไถ เป็นการพลิกหน้าดินส่วนล่างขึ้นมาอยู่ด้านบน การไถครั้งแรกจึงเป็นการกลบทําลายวัชพืชเดิมที่มีอยู่ ควรไถประมาณ 2-3 ครั้ง โดยทิ้งช่วง การไถแต่ละครั้งประมาณ 7-10 วัน เพื่อจะได้กำจัดและทำลายวัชพืชที่กำลังจะเติบโตได้ดีทั้งที่อยู่บนดินและเหง้าที่อยู่ใต้ดิน
  2. การคราด เป็นวิธีการกําจัดวัชพืชที่ใช้ลําต้นหรือเหง้าในการขยายพันธุ์และยังสามารถกําจัดต้นอ่อนของวัชพืชหลังจากการไถได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังจะทําให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การชอนไชของรากข้าวนาหว่าน ทําให้ต้นข้าวงอกงามแข็งแรงดีอีกด้วย
  3. การทําเทือก เป็นวิธีการทําให้ดินที่ผ่านการไถดะหรือไถพรวนแล้วให้อยู่ในสภาพที่เละ ง่ายต่อการดํานาหรือการทํานาหว่านนํ้าตม ทําให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

การเลือกวิธีการปลูกและควบคุมอัตราการปลูกของต้นข้าวเพื่อลดวัชพืชหรือหญ้า

  1. การปลูกข้าวแบบนาดําจะช่วยลด ปริมาณวัชพืชได้มากกว่าวิธีอื่น เพราะในการดําข้าวจะ ใช้กล้าต้นข้าวที่มีการเจริญเติบโตแล้ว ในขณะที่วัชพืช กําลังจะเริ่มเจริญเติบโต ดังนั้นจึงเป็นการลดการระบาด ของวัชพืชลงได้ดี
  2. อัตราการปลูก ความหนาแน่นของต้นขาว ก็มีส่วนช่วยในการควบคุมวัชพืชได้เหมือนกัน ถ้าต้นข้าว มีความหนาแน่นน้อย ช่องว่างระหว่างต้นข้าวก็จะมีมาก ทําให้เกิดวัชพืชได้มาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าความหนาแน่นของต้นข้าวมากช่องว่างระหว่างต้นมีน้อย วัชพืชก็ เกิดขึ้นได้น้อย ควรเว้นให้เหมาะสม
การปลูกข้าวด้วยวิธีการดำนา

การควบคุมระดับน้ำเพื่อลดวัชพืชหรือหญ้าในนาข้าว

การควบคุมโดยใช้ระดับนํ้า ในการทํานาดําหรือนาหว่านนํ้าตม นํ้าจะเป็นปัจจัยสําคัญ ในการเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูง ดังนั้น การที่เกษตรกรปล่อยนํ้าให้ขังอยู่ในแปลงนาก็จะเป็นการช่วย ลดปัญหาวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใบแคบสกุลหญ้าจะมีความอ่อนแอต่อสภาพนํ้าขัง

การใส่ปุ๋ยและใช้ยาฆ่าหญ้า

การควบคุมวัชพืชหรือหญ้าในนาข้าวด้วยวิธีการอื่นๆ

  • การใช้แรงงานในการกําจัดวัชพืช โดยการใช้มีด จอบ เสียม หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ต้องใช้แรงงาน คน แต่เนื่องจากปัจจุบันนี้แรงงานหายากและมีราคาแพง อีกทั้งต้องใช้เวลามาก จึงไม่นิยมปฏิบัติกัน
  • การใส่ปุ๋ย ควรทําการกําจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยครั้งแรกจะใส่ขณะเตรียมดิน และจะใส่อีกครั้ง หลังจากนํานํ้าเข้าแปลง เพื่อให้นํ้ายับยั้งการเจริญเติบโต ของวัชพืชเป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชมาแย่งธาตุอาหารของต้นข้าว
  • การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ฯลฯ สลับกับการปลูก ข้าว จะทําให้เกิดการเปลี่ยนสภาพของดินและระบบนิเวศวิทยาของพืช และวัชพืชซึ่งมีความต้องการ สภาพของดินแตกต่างกัน จึงมีผลทําให้วัชพืชลดลงได้
  • การใช้สารเคมีในการกําจัดวัชพืช ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มจะใช้กันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทดแทนการ ใช้แรงงานคนที่หายากและมีราคาแพง แต่เนื่องจากสารเคมีกําจัดวัชพืชจัดได้ว่าเป็นสารพิษ ดังนั้น เกษตรกรจึงควรมีความรอบคอบในการใช้เลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืช ใช้ตามอัตราและเวลา ที่กําหนด อีกทั้งต้องพิจารณาราคาของสารเคมีที่จะใช้ด้วยว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุน นอกจากนี้ยังควร คํานึงถึงพิษตกค้างที่อาจจะสะสมในพืชหรือในดิน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัว เกษตรกรชาวเกษตรอินทรีย์ และผู้บริโภค รวมถึงสิ่งแวดล้อม หากเป็นไปได้ควร หลีกเลี่ยงหรือใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุดก็จะเป็นการดีอย่างยิ่ง
  • การควบคุมโดยชีววิธี เช่น การเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด และปลูกแหนแดง จะมีส่วนช่วยป้องกันและ กําจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดีและเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดินอีกด้วย